วันนี้ในอดีต

15 พฤษภาคม เขื่อนปากมูลได้รับการอนุมัติงบประมาณ

15 พฤษภาคม 2533 รัฐบาล พ.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ อนุมัติงบประมาณโครงการก่อสร้าง เขื่อนปากมูล ที่ อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดย สำนักงานพลังงานแห่งชาติ (สพช.)

เขื่อนปากมูล

เขื่อนปากมูล เป็นเขื่อนในจังหวัดอุบลราชธานีกั้นแม่น้ำมูล อยู่ห่างจากลำน้ำมูลและน้ำโขงไปทางตะวันตกประมาณ 5.5 กิโลเมตร ก่อสร้างโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก โดยมีค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สร้างเสร็จในปี 2537

ในเมื่อ 2510 สำนักงานพลังงานแห่งชาติ หรือปัจจุบันคือ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) มีดำริที่จะพัฒนาแหล่งน้ำแหล่งนี้ โดยได้รับความร่วมจากรัฐบาลฝรั่งเศส ได้ทำการสำรวจและศึกษาโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำมูลตอนล่าง และกำหนดที่ตั้งตัวเขื่อนไว้ที่บริเวณแก่งตะนะ ซึ่งห่างจากปากแม่น้ำขึ้นมา 4 กิโลเมตร

เมื่อปี 2522 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็ได้รับโครงการนี้ไปดำเนินการต่อ และได้ศึกษาเพิ่มเติมก็รู้ว่าประโยชน์ที่จะได้รับนั้นคุ้มค่า แต่ผลดระทบที่สำคัญของโครงการนี้คือ การโยกย้ายที่อยู่ของประชากรในแถบนั้นถึง 4,000 หลังคาเรือน ทำให้ต้องชะลอโครงการไว้ก่อน

ในปี 2528 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีการทบทวนโครงการอีกครั้ง โดยย้ายที่ตั้งตัวเขื่อนมาทางเหนือน้ำประมาณ 1.5 กิโลเมตร และลดระดับการกักเก็บน้ำลง เพื่อให้ประชากรได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และผลสรุปในปี 2532 มีประชากรได้รับผลกระทบรวม 903 ราย เป็นผลกระทบต่ออาคารบ้านเรือนรวม 248 หลังคาเรือน ซึ่งลดลงจากปี 2522 เป็นอย่างมาก

ในภาคอีสานนั้นต้องรับไฟจากส่วนกลาง และต้องซื้อจากการไฟฟ้าของลาวด้วย ทำให้ระบบของภาคอีสานไม่มั่งคง และฟุ่มเฟือย จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างแหล่งผลิตไฟฟ้าในภาคอีสานขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับโรงไฟฟ้าของภาค

โครงการนี้จัดอยู่ในแผนการพัฒนาไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (2530-2340) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2533 และเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤศจิกายน 2537 ตามกำหนดการที่ตั้งไว้

อ่านต่อ

Alinda C.

ฉันเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจความเป็นมาของสังคมและโลก ประวัติศาสตร์ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน ทำให้เราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button