ความรู้ Tech

วิธีสังเกตข่าวปลอม ดูยังไงให้รู้ว่าข่าวไหนจริง ข่าวไหนปลอม!

ข่าวปลอมเป็นเรื่องราวที่ไม่จริง สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้คนเข้าใจผิดหรือบิดเบือนมุมมอง เพื่อผลักดันวาระทางการเมือง หวังผลผ่านโฆษณาออนไลน์ หรือเป็นช่องทางการแพร่กระจายมัลแวร์

ข่าวปลอม คือ

ข่าวปลอม คือ

ข่าวที่มีข้อมูลไม่เป็นจริง อาจปลอมบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น ข่าวที่ปลอมเนื้อหา รูปภาพ ทั้งนี้การเผยแพร่ของข่าวปลอม มี 2 รูปแบบ คือ การเผยแพร่ข่าวปลอมที่ไม่ได้ตั้งใจ หรือส่งต่อข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการเผยแพร่ข่าวปลอมโดยมีผลประโยชน์ เช่น เพื่อสร้างรายได้จากการโฆษณา เพื่อต้องการสร้างความเสียหายให้กับคู่แข่ง ฝ่ายตรงข้ามทั้งด้านการเมืองหรือการแข่งขันด้านธุรกิจ

จากการศึกษาข้อความใน Twitter 126,000 ข้อความ ที่ Tweet กว่า 4.5 ล้านครั้ง โดย user 3.5 ล้านคน ตั้งแต่ปี 2006-2017 โดน นักวิจัย MIT (MIT Intiative on the Digital Economy) พบว่า Fake News สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าข่าวจริงถึง 100 เท่า โดย Fake News มีคนเข้าถึงประมาณ 1,000-100,000 คน ในขณะที่ข่าวจริงมีคนเข้าถึงเพียง 1,000 คนเท่านั้น และ Fake News มักถูก retweet มากกว่าข่าวจริงถึง 70%

วิธีสังเกตข่าวปลอม

วิธีสังเกตข่าวปลอม

ดูความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว

โดเมน หลอกลวง หรือดูคล้ายอาจเป็นสัญญาณของข่าวปลอมได้ เว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากเปลี่ยนแปลงโดเมนเพียงเล็กน้อยเพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง คุณอาจไปที่เว็บไซต์เพื่อเปรียบเทียบโดเมนกับแหล่งข่าวที่มี

อย่าตื่นตูมกับหัวข้อข่าวที่น่าตื่นเต้น

ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่ดึงดูดความสนใจโดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดและเครื่องหมายอัศเจรีย์ หากข้อความพาดหัวที่น่าตื่นตระหนกฟังดูไม่น่าเชื่อถือ ข่าวนั้นน่าจะเป็นข่าวปลอม

เช็คชื่อคนเขียนหรือคนแชร์ให้ดี

คนเขียนข่าวหรือคนแชร์ข่าวเป็นใคร น่าเชื่อถือไหม

แหล่งข้อมูลสนับสนุนอ้างอิง

ตรวจดูให้แน่ใจว่าเรื่องราวเขียนขึ้นโดยแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือและมีชื่อเสียงด้านความถูกต้อง หากเรื่องราวมาจากองค์กรที่ชื่อไม่คุ้นเคย ให้ตรวจสอบที่ส่วน “เกี่ยวกับ” เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

เช็คเวลาเกิดเหตุของข่าว

เรื่องราวข่าวปลอมอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์ ข่าวเก่าที่นำมาโพสต์ใหม่ต้องระวัง อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับข่าวปัจจุบันเลย

ข่าวขบขัน แต่อาจดูเหมือนจริง

บางครั้งอาจแยกข่าวปลอมจากเรื่องตลกหรือการล้อเลียนได้ยาก ตรวจสอบดูว่าแหล่งที่มาของข่าวขึ้นชื่อเรื่องการล้อเลียนหรือไม่ และรายละเอียดตลอดจนน้ำเสียงของข่าวฟังดูเป็นเรื่องตลกหรือไม่

อย่าใช้อคติส่วนตัว

ปล่อยวางและทำใจให้เป็นกลาง ถ้าคิดจะแยกแยะข่าวจริง/ข่าวลวง

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้แน่ใจก่อน

ถามผู้รู้ด้านนั้นก่อน หรือเช็คจาก Search Engine ก่อนอาจเจอประวัติข่าวลวงนั้นก็ได้

ข่าวปลอมแพร่กระจายอย่างไร

  • ผู้ประสงค์ร้ายผลิตข่าวลวงออกมา
  • สร้างหัวข้อข่าวให้ดูน่าสนใจ
  • มีบอทช่วยสร้างบัญชีผี เพื่อช่วย Like หรือ แชร์ ข่าวลวงเพื่อสร้างความนิยมปลอม
  • อัลกอริทึมของแพลตฟอร์ม มักโปรโมทข่าวสารที่มีความนิยมมาก ให้ถูกเห็นง่าย
  • ผู้ใช้ที่เป็นมนุษย์ เมื่อเห็นข่าวมีความนิยม ก็เริ่มแชร์ต่อโดยอัตโนมัติ

ข่าวปลอมที่พบบ่อย

  • โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda)
  • โฆษณาแผง (Sponsored Content)
  • เสียดสี ตลกขบขัน (Satire)
  • ข่าวด้านเดียว (Partisan)
  • ไร้หลักฐานวิทยาศาสตร์ (Speudoscience)
  • ข่าวถูกบ้างผิดบ้างปนกัน (Misinformation)

ข่าวปลอมที่เป็นอันตราย

ข่าวปลอมที่เป็นอันตราย CLICKBAIT PHISHING

CLICKBAIT

คลิกเบต (CLICKBAIT) เป็นคำเหยียดใช้หมายถึงเนื้อหาเว็บที่มุ่งสร้างผลประโยชน์จากการโฆษณาออนไลน์ โดยเฉพาะเมื่อไม่คำนึงถึงคุณภาพหรือความถูกต้องของข้อมูล แต่อาศัยวิธีพาดหัวแบบเร้าใจเพื่อดึงดูดให้คลิกเข้าไปชมทันทีและเพื่อเชิญชวนให้ส่งเนื้อหานั้นต่อไปในเครือข่ายสังคมออนไลน์ พาดหัวล่อคลิกมักอาศัยประโยชน์จากความสงสัย โดยให้ข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ พอชวนให้ผู้อ่านสงสัย แต่ไม่พอจะขจัดความสงสัยนั้น จนต้องคลิกเข้าไปดูเนื้อหานั้น ๆ

PHISHING

ฟิชชิง (PHISHING) คือ การหลอกลวงที่โง่มากการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สำคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์ ตัวอย่างของการฟิชชิง เช่น การบอกแก่ผู้รับปลายทางว่าเป็นธนาคารหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ และแจ้งว่ามีสาเหตุทำให้คุณต้องเข้าสู่ระบบและใส่ข้อมูลที่สำคัญใหม่ โดยเว็บไซต์ที่ลิงก์ไปนั้น มักจะมีหน้าตาคล้ายคลึงกับเว็บที่กล่าวถึง

PHISHING แผลงมาจากคำว่า Fishing แปลว่าการตกปลา ซึ่งมีความหมายถึง การปล่อยให้ปลามากินเหยื่อที่ล่อไว้

ตัวอย่างข่าวปลอม

วิธีปลอดภัยจากข่าวปลอม

  • ติดตั้งซอฟท์แวร์ ป้องกันไวรัส/มัลแวร์ บนอุปกรณ์
  • อย่าคลิก URL หรือดาวน์โหลดไฟล์ จากแหล่งที่มาที่ไม่รู้จัก หรือน่าสงสัย
  • ถึงแม้จะรู้จักแหล่งที่มา ต้องเช็คให้ดีอีกครั้งว่า ถูกส่งจากแหล่งที่มานั้นจริงหรือไม่
  • ตรวจสอบประวัติ นำรายละเอียดต่าง ๆ ของ URL หรือชื่อไฟล์ไปสืบค้นใน Google ก่อนไม่แน่อาจจะพบประวัติเลวร้ายมากมาย
  • อย่าคลิกโฆษณาป๊อปอัพ ขึ้นมาในหน้าเว็บ วิธีปิดหน้าป๊อปอัพคืออย่าคลิกกากบาท ตรงมุมขวาของโฆษณาแต่ให้ปิดหน้าเบราว์เซอร์เลย

ข้อมูลอ้างอิง – catcyfence.com

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button