กฎหมาย

พินัยกรรม : คู่มือสู่การจัดการทรัพย์สินหลังความตาย

พินัยกรรม คือ เอกสารทางกฎหมายที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นเอกสารในการกำหนดการจัดการทรัพย์สินของผู้ตาย การทำพินัยกรรมยังช่วยให้ผู้ทำพินัยกรรมสามารถจัดการทรัพย์สินของตัวเองได้อย่างอิสระ และเป็นไปตามความประสงค์ของผู้ทำ อีกทั้งยังช่วยป้องกันปัญหาหรือข้อพิพาทระหว่างทายาท หลังจากการที่ผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตแล้ว

ประโยชน์ในการทำพินัยกรรม

การทำพินัยกรรมนั้น มีประโยชน์มากมาย ดังนี้

  • ผู้ทำพินัยกรรมสามารถกำหนดได้ว่าทรัพย์สินของตนจะตกเป็นของใครและในสัดส่วนใด ช่วยให้มั่นใจว่าทรัพย์สินจะถึงมือผู้ที่ตนรักและต้องการให้เป็นผู้รับทรัพย์สินอย่างแท้จริง
  • การทำพินัยกรรมที่ชัดเจนและถูกต้องตามกฎหมายจะช่วยลดโอกาสเกิดข้อพิพาทระหว่างทายาทหลังจากการเสียชีวิตของผู้ทำพินัยกรรม ทำให้การแบ่งทรัพย์สินเป็นไปอย่างราบรื่นและยุติธรรม ลดภาระของทายาท
  • พินัยกรรมที่ระบุการจัดทรัพย์สินอย่างชัดเจน จะช่วยลดภาระของทายาทในการดำเนินการจัดการทรัพย์สินหลังการเสียชีวิตของผู้ทำพินัยกรรม ทำให้ทายาทสามารถจัดการเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม

ข้อควรระวังในการทำพินัยกรรม

ในการทำพินัยกรรมนั้นควรระมัดระวังและปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพื่อให้พินัยกรรมมีความสมบูรณ์และมีผลบังคับใช้ได้ ดังนี้

  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
  • ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ตนกำลังทำและสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง พินัยกรรมต้องเป็นไปตามเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม
  • พินัยกรรมต้องแสดงเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมอย่างชัดเจนและเป็นไปตามความต้องการที่แท้จริงของผู้ทำพินัยกรรม พินัยกรรมต้องถูกต้องตามกฎหมาย
  • พินัยกรรมต้องทำตามขั้นตอนและรูปแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ มิฉะนั้นพินัยกรรมอาจตกเป็นโมฆะ

แบบของพินัยกรรม

ในการเลือกทำพินัยกรรมนั้นมี 6 แบบ ผู้ทำพินัยกรรมสามาถเลือกได้ตามความความต้องการดังนี้

แบบธรรมดา 1

1.พินัยกรรมแบบธรรมดา

มาตรา 1656 พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดังนี้ก็ได้ กล่าวคือต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้

แบบเขียนเองทั้งฉบับ

2.พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ

มาตรา 1657 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้ กล่าวคือผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด วัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตน การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และลงลายมือชื่อกำกับไว้ บทบัญญัติมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่พินัยกรรมที่ทำขึ้นตามมาตรานี้

แบบเอกสารฝ่ายเมือง

3.พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง

มาตรา 1657 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้ กล่าวคือผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด วัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตน การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และลงลายมือชื่อกำกับไว้ บทบัญญัติมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มิให้ใช้บังคับแก่พินัยกรรมที่ทำขึ้นตามมาตรานี้

แบบเอกสารลับ

4.พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ

มาตรา 1660 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารลับก็ได้ กล่าวคือ

(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม
(2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้น แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น
(3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อกรมการอำเภอ และพยานอีกอย่างน้อยสองคน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้เป็นผู้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย
(4) เมื่อกรมการอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมและวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองนั้นและประทับตราตำแหน่งแล้ว ให้กรมการอำเภอผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น
การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้

แบบวาจา

5.พินัยกรรมทำด้วยวาจา

มาตรา 1663 เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม บุคคลนั้นจะทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้

เพื่อการนี้ ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
พยานสองคนนั้นต้องไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอโดยมิชักช้าและแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้น ทั้งต้องแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ด้วย

ให้กรมการอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อไว้ หรือมิฉะนั้น จะให้เสมอกับการลงลายมือชื่อได้ก็แต่ด้วยลงลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองสองคน

แบบในต่างประเทศ

6.แบบคนในบังคับไทยทำพินัยกรรมในต่างประเทศ

มาตรา 1667 เมื่อคนในบังคับไทยจะทำพินัยกรรมในต่างประเทศ พินัยกรรมนั้นอาจทำตามแบบซึ่งกฎหมายของประเทศที่ทำพินัยกรรมบัญญัติไว้ หรือตามแบบที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ก็ได้ เมื่อทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ อำนาจและหน้าที่ของกรมการอำเภอตามมาตรา 1658, 1660, 1661, 1662, 1663 ให้ตกแก่บุคคลดังต่อไปนี้ คือ

(1) พนักงานทูต หรือกงสุลฝ่ายไทย กระทำการตามขอบอำนาจของตน หรือ
(2) พนักงานใด ๆ ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายของต่างประเทศนั้น ๆ ที่จะรับบันทึกข้อแจ้งความไว้เป็นหลักฐานได้

โดยสรุปแล้ว เมื่อทำพินัยกรรมแล้ว หากผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย การจัดการทรัพย์สินจะเป็นไปตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม ป้องกันการทะเลาะเบาะแวงในการแบ่งมรดกในครอบครัว หรือการแบ่งมรดกโดยไม่ยุติธรรมในอนาคต การทำพินัยกรรมจึงมีความจำเป็นหากทางครอบครัวนั้น มีปัญหาในการจัดการทรัพย์สิน ณ ขณะมีชีวิต การทำพินัยกรรมจึงเป็นคำตอบ

หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการทำพินัยกรรม ทนายความที่ TAPANAT&PARTNERS ยินดีช่วยเหลือคุณ

อ่านต่อ

ทนายโอ๊ค

ฐปณัฐ เป็นทนายความและที่ปรึกษาอิสระ จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปัจจุบันทำงานเป็นทนายความประจำสำนักงานกฎหมายฐปณัฐแอนด์พาร์ทเนอร์ ให้คำ แนะนําแก่ลูกค้าชาวต่างชาติและชาวไทยมีความเชี่ยวชาญด้านการดําเนินคดีและการระงับข้อพิพาท ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ แพ่ง อาญา ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงการบังคับคดี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button