ข่าว

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือ เคอร์ฟิว คือ ? หลังนายกฯ ประกาศใช้

นายกฯ ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือที่เราเรียกกันว่า เคอร์ฟิว คุมโควิด-19 เริ่มใช้ 26 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 หวังระงับการระบาดโควิด-19 (COVID-19)

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คือ

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คือ กฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่รัฐบาลในการควบคุมสถานการณ์ที่อาจกระทบต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ เพื่อความปลอดภัยของประเทศ

เคอร์ฟิว คือ

เคอร์ฟิว คือ การประกาศห้ามประชาชนออกจากเคหสถานในบริเวณพื้นที่ที่กำหนด ตามระยะเวลาที่ระบุไว้อย่างชัดเจน และ จะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ภายใต้บังคับของกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงอื่นๆ ในเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะไม่ปกติ เช่นอยู่ในภาวะสงครามหรือมีเหตุกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐอย่างรุนแรง

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด-19

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด-19

โดยที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายและเป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตของผู้ได้รับเชื้อ ประกอบกับในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคทั้งยังไม่มียารักษาโดยตรง จึงมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการระบาดใหญ่ และขอให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดเด็ดขาดยิ่งขึ้่น การระบากของโรคดังกล่าวจึงเป็นสถารการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชนซึ่งต้องใช้มาตรการเข้มงวด และเร่งด่วนเพื่อควบคุมมิให้โรคแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง ประกอบกับมีการกักตุนสินค้าจำเป็นต่อการเฝ้าระวังและควบคุมติดตามการระบาด การป้องกัน และการรักษาโรค ตลอดจนการกักตุนเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน ซึ่งต้องไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลนอันจะเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน กรณีจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของประชาชน และการดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน

Advertisement

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชดำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร สำหรับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปควบคู่กัน

ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563

สาระสำคัญของข้อกำหนดภายใต้ประกาศฉบับนี้ ได้แก่ 

  • ห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง
  • ปิดสถานที่เสี่ยง (ดำเนินการไปแล้วบางส่วน)
  • ปิดช่องทางเข้าประเทศ
  • เสนอข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้สูงวัย คนป่วย และเด็ก
  • ห้ามกักตุนสินค้า -ขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุผล
  • ห้ามเสนอข่าวบิดเบือน

ข้อแนะนำการปฏิบัติ

  1. หากไม่จำเป็นให้อยู่บ้าน โดยเฉพาะผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปี, เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้มีโรคประจำตัว
  2. งดการเดินทางข้ามเขตจังหวัด หากจำเป็นจะทำการตรวจคัดกรองก่อน
  3. พกบัตรประชาชนติดตัวตลอด
ประกาศเคอร์ฟิวโควิด-19

ประกาศเคอร์ฟิวโควิด-19

ตามที่ได้ประกาศสถานณ์การฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรและได้ออกข้อกำหนด (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 แล้วนั้น

เพื่อให้มีมาตรการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถารการณ์ฉุกเฉิน 2548 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึง 04.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจำเป็นหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคารการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร ยา เวชพภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ หนังสือพิมพ์ การขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิง การขนส่งพัสดุภัณฑ์ การขนส่งสินค้าเพื่อนการนำเข้าหรือส่งออก การขนย้ายประชาชน ไปสู่ที่เอกเทศเพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ การเข้าออกเวรทำงานผลัดกลางคืนตามปกติหรือการเดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยาน โดยมีเอกสารรับรองความจำเป็นหรือเอกสารเกี่ยวกับสินค้าหรือการเดินทาง และมีมาตรการป้องกันโรคตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 1) หรือเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งต่าง ๆ ของทางราชการ หรือมีเหตุจำเป็นอื่น ๆ โดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

ผู้ใดฝ่าฝืนข้อนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตามมาตรา 18 แห่งพระนสชกำหนดบริหารราชการในสถารการณ์ฉุกเฉิน 2548

ข้อ 2 ในกรณีที่มีการประกาศหรือสั่ง ห้าม เตือนหรือแนะนำในลักษณะเดียวกับข้อ 1 วรรคหนึ่ง สำหรับจังหวัด พื้นที่หรือสถานที่ใดโดยกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่เข้มงวดหรือเคร่งครัด กว่าข้อกำหนดนี้ให้ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นต่อไปด้วย

ข้อ 3 ในกรณีที่ไม่อาจเคลื่อนย้ายบุคคลใดซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางเพื่อออกไปนอกราชอาณาจักรได้ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครจัดที่เอกเทศเพื่อควบคุมหรือกักกันบุคคลดังกล่าวเพื่อป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด

ข้อแตกต่างของ พ.ร.บ. ความมั่นคง กับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

หัวข้อพ.ร.บ.ความมั่นคงพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ประชาชนสามารถฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ ได้ไม่ได้
อนุญาตให้มีการชุมนุม ได้ ไม่ได้
การปิมล้อม-ตรวจค้น-จับคุม ของเจ้าหน้าที่ ไม่ได้ ได้
การายงาน รัฐสภา และเปิดให้ รัฐสภาสอบถามต้องทำไม่ต้องทำ
การฟ้องร้องเอาผิด เจ้าหน้าที่ ได้ ไม่ได้
สามารถจับกุมตัว โดยไม่ต้องมีหมายจับ ไม่ได้ ได้
สามารถตรวจสอบการสื่อสาร ทุกรูปแบบ ไม่ได้ ได้
สามารถออกคำสั่ง เรียกตัวบุคคล ยึดหรืออายัด อาวุธ สินค้า ตรวจค้น รื้อถอน ทำลาย สิ่งปลูกสร้าง ไม่ได้ ได้

การเคอร์ฟิวในอดีตที่ผ่านมา

  • การประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 โดยนายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร ในช่วงเหตุการณ์ชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรี
  • การประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 โดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในช่วงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลาประมาณสามเดือน
  • การประกาศเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550 โดยแม่ทัพภาคที่สี่ประกาศห้ามออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 20.00 น. ถึงเวลา 04.00 น. ในเขตท้องที่ อำเภอยะหา และอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา หลังจากมีเหตุลอบวางระเบิดและลอบยิงประชาชนอย่างต่อเนื่อง

ข้อห้ามตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ม.9) (ในอดีต)

  1. ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด
  2. ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกันฃ
  3. ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นใดที่มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร
  4. ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะ
  5. ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ
  6. ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัย

อำนาจเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ม.11) (ในอดีต)

  1. มีอำนาจจับกุม ควบคุมบุคคลต้องสงสัย
  2. มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคล ต้องสงสัยมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่
  3. มีอำนาจออกคำสั่งยึด อายัดอาวุธ
  4. มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ทำลาย
  5. มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบ สั่งพิมพ์ การสื่อสารด้วยวิธีต่าง ๆ
  6. ห้ามมิให้กระทำ หรือให้กระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษา-ความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศและประชาชน
  7. มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกจากราชอาณาจักร
  8. มีอำนาจสั่งการ ให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักรในกรณีเป็นผู้ต้องสงสัย
  9. การซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ใด ๆ ซึ่งอาจใช้ในการก่อการร้าย ต้องได้รับอนุญาตเจ้าหน้าที่
  10. ออกคำสั่งให้ทหารช่วยเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุร้ายแรง

Advertisement

กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button
Shopee