นิทานชาดก

นิทานชาดก : มนต์มายาหญิง

“มนต์มายาหญิง” เป็นนิทานชาดกที่ว่าด้วยเรื่องราวของภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งที่หลงเสน่ห์หญิงสาวจนละทิ้งความเพียรในการปฏิบัติธรรม นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า กิเลสย่อมครอบงำจิตใจของมนุษย์ได้เสมอ หากผู้ใดไม่ระวังให้ดีก็อาจหลงลืมทางธรรมได้

Advertisement

มนต์มายาหญิง

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันปั่นป่วนเพราะหญิงรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า…

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองพาราณสีมีพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง ได้จุดไฟตั้งไว้ตั้งแต่วันลูกชายเกิดไม่ให้ดับเป็นเวลา 16 ปีแล้ว วันหนึ่ง มารดาเรียกลูกชายมาบอกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง

“ลูกรัก แม่ได้จุดไฟตั้งไว้ในวันที่ลูกเกิดเรื่อยมา ถ้าหากเจ้าประสงค์จะไปพรหมโลก จงเข้าป่าบูชาพระอัคนิเทพเจ้าเถิด ถ้าอยากจะครองเรือน จงไปเรียนศิลปวิทยากับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ณ เมืองตักกสิลาเถิด”

ลูกชายตัดสินใจเดินทางไปเรียนที่เมืองตักกสิลาจนสำเร็จแล้วกลับมาบ้าน ส่วนมารดาไม่อยากจะให้ลูกชายครองเรือน อยากจะแสดงโทษของสตรีหวังให้ลูกชายออกบวช จึงส่งลูกชายให้กลับไปเรียนอสาตมนต์ที่สำนักของอาจารย์ ณ เมืองตักกสิลาอีก

Advertisement

ที่สำนักเรียนเมืองตักกสิลา อาจารย์มีมารดาผู้แก่ชรามีอายุได้ 120 ปีอยู่คนหนึ่ง ท่านจะเป็นผู้ปรนนิบัติมารดาด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ ป้อนข้าว ป้อนน้ำตลอดมา ผู้คนชาวเมืองจึงรังเกลียดท่าน ท่านจึงได้พามารดา เข้าไปอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง เมื่อเห็นลูกศิษย์กลับมาหาอีกครั้ง อาจารย์ทราบว่า ต้องการจะมาเรียนอสาตมนต์ จึงเข้าใจเจตนาของมารดาของเขา

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา อาจารย์จึงมอบหน้าที่ปรนนิบัติมารดาผู้ชราให้แก่ลูกศิษย์ไป พร้อมกับสั่งสอนว่า

“เจ้าจงอาบน้ำ ป้อนข้าว ป้อนน้ำ มารดาของเรา ปรนนิบัติด้วยการนวดมือ เท้า ศีรษะและหลังของท่าน พร้อมกับพูดยกย่องคำหวานเป็นต้นว่า คุณแม่ครับ ถึงจะแก่เฒ่าแล้ว ร่างกายของคุณแม่ยังดูกระชุ่มกระชวยอยู่เลย สมัยเป็นสาวคุณแม่คงจะสวยสะคราญหาที่เปรียบไม่ได้ ถ้าหากมารดาของเราพูดอะไรกับเจ้า ต้องบอกให้เราทราบทั้งหมดห้ามปิดบัง เจ้าทำเช่นนี้ถึงจะได้อสาตมนต์”

เขาได้ปรนนิบัติมารดาของอาจารย์เช่นนั้นตลอดมา จนนางคิดว่าหนุ่มน้อยคนนี้คงต้องการอภิรมย์กับเราเป็นแน่นอน วันหนึ่งนางจึงถามชายหนุ่มว่า “เธอต้องการฉันใช่ไหม”

  • เขารับคำว่า “ครับ แต่ผมเกรงกลัวอาจารย์”
  • นางพูดว่า “ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงฆ่าลูกฉันเสียสิ”
  • เขากล่าวว่า “ผมเรียนหนังสือกับท่าน จะให้ฆ่าท่านได้อย่างไร”
  • นางพูดว่า “ถ้าหากเธอไม่ทอดทิ้งฉันจริง ฉันจะฆ่าเขาเอง”

ธรรมดาหญิงส่วนมากไม่น่ายินดี มีลับลมคมใน ถึงจะแก่แล้วก็ยังมีกิเลสราคะถึงกับคิดจะฆ่าลูกชายตนเอง

ชายหนุ่มได้บอกเรื่องทุกอย่างแก่อาจารย์ อาจารย์จึงทราบว่ามารดาตนจะสิ้นชีวิตในวันนี้ จึงเรียกให้ลูกศิษย์ไปตัดต้นมะเดื่อมาทำเป็นรูปหุ่นเท่าตัวให้นอนในที่นอนคลุมผ้าทั่วร่าง ผูกราวเชือกไว้เสร็จแล้ว มอบขวานให้ลูกศิษย์นำไปมอบให้มารดา บอกว่าอาจารย์เข้านอนแล้ว

นางเดินไปตามราวเชือกแล้วเงื้อขวานจามลงบนหุ่นไม้นั้นหวังให้ตายคาที่ พอเกิดเสียงดังกึก จึงทราบว่าฟันถูกไม้ ทันใดนั้นเองลูกชายก็โผล่มาถามว่าแม่ทำอะไร นางทราบว่าถูกหลอกแล้ว จึงล้มลงสิ้นใจตาย ณ ที่นั้นนั่นเอง ความที่จริงถ้านางไม่เดินมาก็จะนอนตายที่ศาลาของตนเองอยู่แล้ว นางเดินมาด้วยอำนาจกิเลสตัณหา

อาจารย์ได้ทำการเผาศพมารดาแล้วเรียกลูกศิษย์มาสอนว่า

“อสาตมนต์ไม่มีดอก ขึ้นชื่อว่าหญิงส่วนมาก ไม่รู้จักจืดจาง มารดาของเจ้าส่งเจ้ามาเพื่อให้รู้จักโทษของหญิง บัดนี้ เจ้าเห็นโทษของมารดาเราแล้ว พึงทราบว่า ผู้หญิงส่วนมากไม่รู้จักอิ่ม ชั่วช้า”

แล้วให้เขากลับบ้าน เมื่อชายหนุ่มกลับไปถึงบ้าน มารดาจึงถามว่า

“บัดนี้เจ้าจักบวชหรือจะครองเรือน”

เขาได้ตัดสินใจออกบวชเพราะเห็นโทษของหญิง และได้กล่าวคาถาว่า

“ขึ้นชื่อว่า หญิงในโลกนี้ไม่นายินดี เพราะหญิงเหล่านั้นไม่มีขอบเขต มีแต่ความกำหนัด คะนอง เหมือนเปลวไฟไหม้ทุกสิ่งทุกอย่าง ข้าพเจ้า จักละทิ้งหญิงทั้งหลายเหล่านั้น ไปบวชเพิ่มพูนวิเวก”

เพื่อความชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นพึงทราบว่า

“หญิงเหล่านั้น ร้อยเล่ห์ หลอกลวง เป็นบ่อเกิดแห่งความโศก มีเชื้อโรค เป็นตัวอุบาทว์ หยาบคาย ก่อให้เกิดความผูกพันธ์ เป็นชะนวนแห่งความตาย เป็นนางบังเงา ชายใด วางใจในนาง ชายนั้น จัดเป็นคนเลวในฝูงคน”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

ภรรยา ทาส ช้างสาร งูเห่า (คนไม่ดี) ไว้ใจไม่ได้

Advertisement

Advertisement

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button