สุขภาพ

เมนูหมูดิบ เสี่ยง ป่วย-ตาย จาก ไข้หูดับ

ไข้หูดับ

โรคไข้หูดับหรือชื่ออย่างเป็นทางการว่าโรคสเตรปโตค็อกคัส ซูอิส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus suis ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดที่พบในสุกรเกือบทุกตัว โดยเชื้อตัวนี้จะฝังตัวอยู่ในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น ในโพรงจมูก และในต่อมทอนซิลของหมู หรืออาจพบเชื้อ Streptococcus suis ในช่องคลอดของแม่สุกรได้ ซึ่งจะเป็นแหล่งรังโรคที่สามารถแพร่เชื้อไปยังลูกสุกร หรือสุกรตัวอื่น ๆ ได้

ติดต่อคนสู่คน

  • สัมผัสกับเนื้อหมู รวมทั้งเครื่องในและเลือดหมูที่เป็นโรค
  • ติดต่อโดยผ่านทางบาดแผล รอยถลอก หรือเยื่อบุตา

อาการโรคหูดับ

ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ Streptococcus suis เข้าสู่ร่างกายภายใน 3-5 วัน จะมีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และในกรณีที่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและลุกลามไปสู่เยื่อหุ้มสมอง เจ้าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ ม่านตาอักเสบตามมา

และเนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอยู่ใกล้กับปลายประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง เชื้อจึงสามารถลุกลามและทำให้เกิดหนองบริเวณปลายประสาทรับเสียงและประสาททรงตัว ทำให้หูตึง หูดับ จนกระทั่งมีอาการหูหนวก ร่วมกับอาการเวียนศีรษะและเดินเซตามมาได้ รวมทั้งเกิดอาการ Toxic Shock Syndrome ซึ่งอาการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นภายใน 14 วัน หลังจากเริ่มมีอาการไข้

ทว่าหากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาช้า อาจตกอยู่ในภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจนถึงแก่ชีวิตได้ และแม้จะรักษาจนมีชีวิตรอดกลับมา ก็อาจตกอยู่ในสภาวะคนพิการ เช่น กลายเป็นคนหูหนวกทั้งสองข้าง และเป็นอัมพาตครึ่งซีก

การป้องกันโรคไข้หูดับ

ผู้บริโภคเนื้อหมู

  • ไม่กินเนื้อหมูดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ
  • ไม่ใส่เลือดดิบราดลงบนอาหาร
  • ควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากร้านค้าที่ไว้ใจได้

ผู้ชำแหละ

  • สวมรองเท้าบู๊ทยาง สวมถุงมือยาง
  • สวมแว่นตา หากมีบาดแผล ต้องปิดแผลให้มิดชิด
  • ล้างมือให้สะอาดหลังสัมผัสเนื้อสัตว์

อ่านต่อ

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button