เรื่องน่าสนใจ

มิชลิน ไกด์ Michelin Guide ไทยแลนด์ 2019

มิชลิน ไกด์ ฉบับกรุงเทพฯ ภูเก็ต และพังงา ประจำปี 2019 เปิดตัวแล้ว โดยถือเป็นมิชลิน ไกด์ฉบับที่ 2 ของเมืองไทย ปีนี้พิเศษยิ่งขึ้น ด้วยการเสริมรายชื่อร้านอาหารในจังหวัดทางภาคใต้ ด้วยการเสริมจังหวัดภูเก็ตและพังงาเข้าด้วยกัน นับเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอาหารให้มาแรงยิ่งขึ้น โดยในฉบับนี้มีร้านอาหารที่ได้รับรางวัลสองดาวมิชลินจำนวน 4 แห่ง (หนึ่งในนั้นเป็นร้านที่ได้รับรางวัลหนึ่งดาวมิชลินในปีที่ผ่านมา) และอีก 23 แห่งเป็นร้านอาหารที่ได้รับรางวัลหนึ่งดาวมิชลิน (ในจำนวนนี้เป็นร้านใหม่ 10 แห่ง)

Advertisement

ร้านอาหารรางวัล 2 ดาวมิชลิน

  • Gaggan – เชฟ Gaggan Anand
  • เลอ นอร์มังดี – เชฟ Arnaud Dunand Sauthier
  • เมซซาลูน่า เชฟ – Ryuki Kawasaki
  • Sühring (ได้รับรางวัลหนึ่งดาวมิชลินเมื่อปีที่แล้ว) – เชฟ Thomas Sühring & เชฟ Mathias Sühring

ร้านอาหารรางวัล 1 ดาวมิชลิน

  • โบ.ลาน – เชฟ ดวงพร ทรงวิศวะ & เชฟ Dylan Jones
  • Canvas* – เชฟ Riley Sanders
  • ชิม บาย สยาม วิสดอม – เชฟ ธนินทร จันทรวรรณ
  • เอเลเมนท์ – เชฟ Alvaro Roa
  • Gaa (ได้รับรางวัลมิชลินเพลทเมื่อปีที่แล้ว) – เชฟ Garima Arora
  • Ginza Suchi ichi
  • เฌม บาย ฌอง มิเชล โลรองต์ – เชฟ Amerigo Tito Sesti
  • เจ๊ไฝ – เชฟ สุภินยา จันสุตะ
  • L’Atelier de Joël Robuchon – เชฟ Olivier Limousine
  • ฤดู (ได้รับรางวัลมิชลินเพลทเมื่อปีที่แล้ว) – เชฟ ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร
  • เมธาวลัย ศรแดง* – เชฟ จิระวุฒิ ทรัพย์คีรี
  • น้ำ – เชฟ พิม เตชะมวลไววิทย์
  • Paste – เชฟ บี สระทองกุล & เชฟ Jason Bailey
  • PRU* – เชฟ Jim Ophorst
  • R-Haan* – เชฟ ชุมพล แจ้งไพร
  • เรือนปั้นหยา* – เชฟ พรรณี กนิษฐนาคะ
  • สวรรค์* – เชฟ สุจิรา พงษ์มอญ
  • เสน่ห์จันทน์ – เชฟ ปิยะชาติ พุทธวงษ์
  • Savelberg – เชฟ Henk Savelberg
  • ศรณ์* – เชฟ ศุภักษร จงศิริ
  • สระบัว บาย กิน กิน – เชฟ ชยวีร์ สุจริตจันทร์
  • สวนทิพย์* – เชฟ บานเย็น เรืองสันเทียะ
  • Upstairs at Mikkeller – เชฟ Dan Bark

เครื่องหมาย (*) หมายถึง ร้านอาหารใหม่ที่ได้รับการคัดเลือก

สรุปมิชลิน ไกด์ ฉบับกรุงเทพฯ ภูเก็ต และพังงา ประจำปี 2019

Advertisement
  • จำนวนร้านอาหารทั้งหมดที่ได้รับรางวัลดาวมิชลิน – 27 แห่ง (ร้านรางวัลหนึ่งดาวมิชลิน 23 ร้าน และร้านรางวัลสองดาวมิชลิน 4 ร้าน)
  • ร้านอาหารยุโรปร่วมสมัย – 7 ร้าน
  • ร้านอาหารเชิงนวัตกรรม – 5 ร้าน
  • ร้านอาหารริมทาง – 1 ร้าน
  • ร้านซูชิ – 1 ร้าน
  • ร้านอาหารไทยร่วมสมัย – 3 ร้าน
  • ร้านอาหารท้องถิ่นและอาหารใต้ – 10 ร้าน
  • จำนวนมื้ออาหารที่ผู้ตรวจสอบชิม – 250 มื้อต่อปี
  • จำนวนระยะทางที่ผู้ตรวจสอบเดินทาง –30,000 กิโลเมตรต่อปี

มิชลิน ไกด์

มิชลิน ไกด์ คือ สำหรับคนที่ยังไม่รู้เรื่องราวของ MICHELIN GUIDE มาก่อนต้องบอกว่า มันคือการจัดอันดับร้านอาหารโดยการให้ดาว ตั้งแต่ 1 ดาว 2 ดาว และ 3 ดาว จากร้านอาหารที่นำเสนออาหารคุณภาพดีที่สุด โดยพิจารณาจาก คุณภาพวัตถุดิบ, เทคนิคการปรุงอาหาร, รสชาติอาหาร, ความคิดสร้างสรรค์ และความเสมอต้นเสมอปลาย

  • ร้านอาหารที่ได้ 3 ดาว ถือเป็น สุดยอดร้านอาหาร ที่ควรค่าแก่การเดินทางไกลเพื่อไปชิมสักครั้ง
  • ร้านอาหารที่ได้ 2 ดาว คือ ร้านอาหารยอดเยี่ยม ที่ควรค่าแก่การขับรถออกนอกเส้นทางเพื่อแวะชิม
  • ร้านอาหารที่ได้ 1 ดาว คือ ร้านอาหารคุณภาพสูงที่ควรค่าแก่การหยุดแวะชิม
BIB GOURMAND

นอกจากจากดาวมิชลิน หรือ MICHELIN Star แล้ว ยังมีรางวัล บิบ กูร์มองด์ ได้ สัญลักษณ์บิเบนดัม (Bibendum – ห่วงยางตัวสีขาว)  ร้านอาหารที่ได้สัญลักษณ์นี้ คือ ร้านโปรดของผู้ตรวจสอบมิชลินที่เสิร์ฟอาหารคุณภาพดีในราคาไม่เกิน 1,000 บาท (อาหาร 3 คอร์สไม่รวมเครื่องดื่ม)  และสุดท้ายคือ  สัญลักษณ์ MICHELIN Plates (มิชลิน เพลท)  คือร้านอาหารคุณภาพดีที่ใช้วัตถุดิบสดใหม่และปรุงอย่างพิถีพิถัน

ประวัติ มิชลิน ไกด์ Michelin Guide

ประวัติ มิชลิน ไกด์ Michelin Guide

ในช่วงปี 2463-2472 เป็นครั้งแรกที่คู่มือ Michelin Guide บรรจุรายชื่อโรงแรมในกรุงปารีส รายชื่อร้านอาหารโดยจำแนกตามกลุ่มประเภท ตลอดจนยกเลิกการตีพิมพ์โฆษณาทั้งหมดในคู่มือ

เมื่อตระหนักว่าข้อมูลแนะนำร้านอาหารของคู่มือ Michelin Guide มีบทบาทและอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สองพี่น้องตระกูลมิชลินจึงได้สรรหาและจัดตั้งทีม นักชิมลึกลับ หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า ผู้ตรวจสอบร้านอาหาร ขึ้นเพื่อทำหน้าที่สำรวจและประเมินร้านอาหารโดยไม่เปิดเผยตัว

ในปี 2469 คู่มือ Michelin Guide ได้เริ่มมอบรางวัลดาวมิชลินให้กับร้านอาหารรสเลิศ โดยในระยะแรกมีการให้ดาวเพียง 1 ดวงเท่านั้น ห้าปีต่อมาจึงมีการจัดลำดับดาวมิชลินออกเป็นร้านที่ไม่ได้รับดาวมิชลิน และร้านที่ได้รับดาวมิชลิน 1, 2 และ 3 ดวง จากนั้นในปี 2479 จึงมีการตีพิมพ์หลักเกณฑ์การจัดอันดับร้านที่ได้รับดาวมิชลิน

การดำเนินการอย่างแตกต่างและจริงจังทำให้ในช่วงหลังของทศวรรษที่ 20 คู่มือ Michelin Guide ติดอันดับหนังสือขายดี ปัจจุบันคู่มือฉบับนี้ทำการประเมินร้านอาหารและที่พักมากกว่า 40,000 แห่งในกว่า 24 เขตแดนทั่วทั้ง 3 ทวีป โดยมียอดจำหน่ายทั่วโลกสูงกว่า 30 ล้านเล่ม

ทุกวันนี้ วิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของสองพี่น้องตระกูลมิชลินส่งผลให้บริษัทมิชลินยังคงมีบทบาทสำคัญในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับที่เคยมีในปี 2443 นั่นคือ ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการขับขี่ การเดินทางท่องเที่ยว และสัมผัสประสบการณ์ที่น่าประทับใจไม่รู้ลืม

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

มิชลินไกด์ คือ

เป็นหนังสือคู่มือที่บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลการเดินทาง แผนที่ สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พักแรม รวมถึงร้านอาหารขึ้นชื่อของสถานที่หรือประเทศต่าง ๆ โดยบริษัทมิชลิน บริษัทยางรถยนต์รายใหญ่ของโลกสัญชาติฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1888 จุดประสงค์ของมิชลินไกด์ คือ การกระตุ้นให้ผู้คนออกมาใช้การเดินทางโดยรถยนต์มากขึ้น เพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายยางรถยนต์

มิชลินเพลท คือ

ร้านที่ใช้วัตถุดิบคุณภาพดี ปรุงอย่างพิถีพิถัน แต่ราคาเกินเกณฑ์รางวัลบิบ กูร์มองด์หรือคุณภาพยังไม่ถึงระดับดาวมิชลิน

Bib Gourmand คือ

รางวัลที่ผู้ตรวจมิชลินจะมอบให้กับร้านที่เสิร์ฟอาหารคุณภาพดีในราคาย่อมเยาและคุ้มค่า

ที่มา – michelin.com

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button