วันสำคัญ

วันเต่าโลก 23 พฤษภาคม World Turtle Day

วันเต่าโลก World Turtle Day ตรงกับวันที่ 23 พฤษภาคม ของทุกปี มาช่วยกันอนุรักษ์เต่ากันเถอะ จุดประสงค์ของวันเต่าโลกคือ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเต่า ร่วมปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์เต่า เนื่องจากเต่าเป็นสัตว์ที่มีปริมาณแนวโน้มลดลงทั่วโลก

Advertisement
วันเต่าโลก

วันเต่าโลก

องค์กร American Tortoise Rescue เป็นองค์ที่มีภารกิจเพื่ออนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล ตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เล็งเห็นถึงการให้ความรู้ต่อประชาชนเกี่ยวกับ และอยากปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์เต่า จึงได้กำหนดให้วันที่ 23 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น วันเต่าโลก (World Turtle Day) เนื่องจากในทุกวันนี้เต่าเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ

วันเต่าโลกไทย

สำหรับในประเทศไทยเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างยิ่งที่ต้องหันมาร่วมมือกันอนุรักษ์เต่าทะเลด้วยเช่นกัน ซึ่งในน่าน้ำประเทศเราก็มีเต่าทะเลถึง 4 ชนิดอาศัยอยู่ ได้แก่ เต่ากระ , เต่าตะนุ , เต่ามะเฟือง และเต่าหญ้า โดยในทุก ๆ เต่าทะเลเหล่านี้ก็จะล้มตายด้วยหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรือประมงเข้าไปบุกรุกที่อยู่อาศัยของเต่าทะเลมากเกินไป ทำให้ถูกใบพัดเรือฟันกระดองจนตลาด ตลอดจนที่ที่เต่าทะเลใช้สำหรับวางไข่ก็ได้ถูกทำลายและแปรสภาพเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทำให้เต่าไม่สามารถที่จะขึ้นวางไข่ได้ตามปกติ หรือหากวางแล้วลูก ๆ เต่าโอกาสที่จะรอดชีวิตก็มีน้อย

อีกหนึ่งปัญหาที่บรรดาเต่าทะเลต้องเผชิญคือเรื่องของขยะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำอึ้งเมื่อประเทศติดอยู่ในอันดับ 5 ที่มีการทิ้งขยะลงไปในทะเลมากที่สุด มีการพบเศษพลาสติก โฟม ซากอวนเก่า ๆ ที่กลายเป็นขยะ เป็นสาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ อีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าเต่าทะเลนั้นกินแมงกะพรุนเป็นอาหาร ถึงแม้ในแมงกะพรุนเองจะมีพิษอยู่ก็ตาม แต่เต่าทะเลมีความสามารถในการสะสมพิษในร่างกายได้อย่างไม่เป็นอันตราย ถึงแม้ว่าเต่าทะเลจะกินแมงกะพรุนตามห่วงโซ่อาหาร แต่ด้วยจำนวนของเต่าที่มีลดน้อยลง แมงกะพรุนจึงยังมีมาก และเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยวอยู่เช่นเดิม

ทำไมต้องอนุรักษ์เต่า

  • ปัจจุบันเต่าเป็นสัตว์ที่มีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ จนถึงขั้นวิกฤติ แม้เต่าจะเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนก็ตาม แต่กลับมีความสามารถในการแพร่ขยายพันธุ์ต่ำ นอกจากนี้การถูกไล่ล่ายังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่ามีจำนวนลดลง เนื่องจากเต่าสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหาร ทำเครื่องประดับและเครื่องหนัง ตกแต่งได้ เต่าจึงเป็นสัตว์ที่ถูกไล่ล่าจากผู้แสวงหาผลประโยชน์อยู่เสมอ
  • เต่าสามารถกำหนดเพศได้ด้วยอุณหภูมิ แต่ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกเกิดความแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงไปมาก โลกเริ่มมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เต่ามีอัตราการเกิดเป็นเพศเมียสูงขึ้น นอกจากนี้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ยังส่งผลทำให้เต่าสูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การวางไข่อีกด้วย
เต่า

เต่า

เต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า “กระดอง” ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน

Advertisement

เต่าทะเล

เป็นเต่าจำพวกหนึ่งที่ทั้งชีวิตอาศัยอยู่แต่ในทะเลเพียงอย่างเดียว จะขึ้นมาบนบกก็เพียงแค่วางไข่เท่านั้น โดยที่เท้าทั้งสี่ข้างพัฒนาให้เป็นอวัยวะคล้ายครีบ ซึ่งเต่าทะเลทั่วโลกปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ชนิด ใน 2 วงศ์ 5 สกุล ได้แก่

  1. เต่าหัวค้อน (Caretta caretta)
  2. เต่าตนุ (Chelonia mydas)
  3. เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea)
  4. เต่ากระ (Eretmochelys imbricata)
  5. เต่าตนุหลังแบน (Natator depressus)
  6. เต่าหญ้าแอตแลนติก (Lepidochelys kempii)
  7. เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea)

โดยที่เต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลและเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในน่านน้ำไทยพบได้ถึง 5 ชนิด ไม่พบเพียง 2 ชนิดคือ

  1. เต่าตนุหลังแบน
  2. เต่าหญ้าแอตแลนติก

เต่าในประเทศไทย

  • เต่ากระอาน (Batagur baska)
  • เต่าลายตีนเป็ด (Callagur borneoensis)
  • เต่าหับ (Cuora amboinensis) (มี 4 ชนิดย่อย)
  • เต่าห้วยเขาบรรทัด (Cyclemys artipons)
  • เต่าใบไม้ (Cyclemys dentata)
  • เต่าห้วยคอลาย (Cyclemys tcheponensis)
  • เต่าหวาย (Heosemys grandis)
  • เต่าจักร (Heosemys spinosa)
  • เต่าบัว (Hieremys annandalei)
  • เต่าเหลือง (Indotestudo elongata)
  • เต่านาหัวใหญ่ (Malayemys macrocephala)
  • เต่านาอีสาน (Malayemys subtrijuga)
  • เต่าหก (Manouria emys) (มี 2 ชนิดย่อย)
  • เต่าเดือย (Manouria impressa)
  • เต่าปากเหลือง (Melanochelys trijuga)
  • เต่าทับทิม (Notochelys platynota)
  • เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) (มี 3 ชนิดย่อย)
  • เต่าจัน (Pyxidea mouhotii)
  • เต่าดำ (Siebenrockiella crassicollis)
  • เต่าแก้มแดง (Trachemys scripta elegans)

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button