นิทานอีสป

นิทานอีสป : นกกระสากับชาวไร่ (The Farmer & the Stork)

นิทานอีสป : นกกระสากับชาวไร่ เป็นเรื่องราวที่เล่าถึงชาวนาที่ต้องการจับนกกระยางที่มากินพืชผลของเขา แต่ได้จับนกกระสาไปด้วย ชาวนาจึงตัดสินใจจับทั้งหมด นกกระสาจึงขอให้ชาวนาปล่อยมันไป โดยอ้างว่าไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้เขาเลย ชาวนาจึงพูดว่า “เจ้าอาจจะพูดความจริง แต่เมื่อข้าพบเจ้ารวมอยู่กับยกยางหัวขโมยเหล่านี้ เจ้าก็ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกัน”

นกกระสากับชาวไร่

ชาวไรคนหนึ่งวางตาข่ายดักจับนกยางที่ชอบมาจิกกินเมล็ดข้าวโพดของตน นกกระสาตัวหนึ่งหากินบินโฉบจับหนูนาตามท้องไร่ จึงพลาดท่าติดตาข่ายรวมกับพวกนกยางด้วย

วันรุ่งขึ้น ชาวไร่มาดูตาข่ายและจับนกกระสาไว้ นกกระสาพยายามอ้อนวอนขอชีวิตว่า “ข้าไม่ได้จิกกินเมล็ดข้าวโพดสักเมล็ดเดียว แต่ข้ามาช่วยจับหนูนาศัตรูตัวร้ายที่ทำลายพืชไร่ของท่านต่างหาก ได้โปรดปล่อยข้าไปเถอะนะ”

ชาวไร่จึงพูดว่า “เจ้าอาจจะพูดความจริง แต่เมื่อข้าพบเจ้ารวมอยู่กับยกยางหัวขโมยเหล่านี้ เจ้าก็ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกัน”

The Farmer & the Stork

A Stork of a very simple and trusting nature had been asked by a gay party of Cranes to visit a field that had been newly planted. But the party ended dismally with all the birds entangled in the meshes of the Farmer’s net.

The Stork begged the Farmer to spare him.

“Please let me go,” he pleaded. “I belong to the Stork family who you know are honest and birds of good character. Besides, I did not know the Cranes were going to steal.”

“You may be a very good bird,” answered the Farmer, “but I caught you with the thieving Cranes and you will have to share the same punishment with them.”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า

คนดีเมื่อรวมอยู่กับหมู่คนร้ายก็มักถูกมองว่าเป็นพวกเดียวกัน

You are judged by the company you keep.

อ่านต่อ

Fern A.

สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวที่หลากหลาย ทั้งนิทาน นิทานชาดก และนิทานอีสป โดยฉันจะเน้นไปที่การถ่ายทอดเรื่องราวที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยข้อคิดสอนใจ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านั้น เชื่อว่านิทานเป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ นิทานสามารถช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว รู้จักการคิดวิเคราะห์ รู้จักแยกแยะสิ่งดีสิ่งเลว รู้จักแก้ไขปัญหา และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button