สุขภาพ

วิธีแก้ร้อนใน ร้อนในเกิดจากอะไร มารู้จักกัน!

หลายคนที่เคยเป็นร้อนในจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อนในช่องปาก กินอะไรก็ลำบากแถมยังมีกลิ่นปากกว่าจะหายก็ใช้เวลานาน มาทำความรู้จักร้อนในว่าเกิดจากอะไร และมีวิธีแก้ร้อนในมาบอกกัน

Advertisement

ร้อนใน

ร้อนใน (Aphthous Ulcers)

ร้อนใน (Aphthous Ulcers) คือ แผลในช่องปากที่มีขนาดเล็ก และตื้น จะออกเป็นสีขาว อาจเกิดบริเวณส่วนใดของช่องปากก็ได้ เช่น ริมฝีปาก แก้ม ลิ้น เป็นต้น ความเจ็บจะขึ้นอยู่กับขนาดของแผล มักเป็นครั้งแรกในช่วงวัยรุ่น และวัยหนุ่มสาว ในผู้หญิงจะพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย เป็น ๆ หาย ๆ ทำให้รำคาญใจเวลาทานข้าว หรือดื่มน้ำ แต่แผลร้อนใน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงใด ๆ

ร้อนในเกิดจากอะไร

ร้อนในเกิดจากอะไร 

สำหรับสาเหตุของแผลร้อนในนั้นยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้อย่างแน่ชัด แต่อาจเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน รวมทั้งอาจมีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาภูมิต้านทานของร่างกายด้วย แต่โดยเฉลี่ยแล้วพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นแผลร้อนในบ่อยประมาณ 30-40% มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย ดังนั้นจึงทำให้เชื่อได้ว่า แผลร้อนในสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็เกิดอาการขึ้นมาเองได้โดยที่ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวกระตุ้น ในขณะที่มีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดแผลร้อนในจากสิ่งกระตุ้นจนทำให้มีอาการกำเริบขึ้นมา

วิธีแก้ร้อนใน

วิธีแก้ร้อนใน

การรักษาแผลร้อนในมีอหลายวิธีด้วยกันขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผล หากไม่รุนแรงมากก็อาจเป็นแค่การจิบน้ำ บ้วนน้ำเกลือ หรือป้ายยาที่แผลวันละ 3-4 ครั้ง แต่หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดมาก หรือไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติก็อาจต้องพึ่งวิธีการรักษาอื่นเพิ่มเติม วิธีรักษาแผลร้อนในมีดังต่อไปนี้

  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือประมาณวันละ 2-3 ครั้ง น้ำเกลือจะช่วยรักษาแผลร้อนในได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยทำให้ปากสะอาด และช่วยให้แบคทีเรียลดลง ผู้ป่วยสามารถทำน้ำเกลือที่บ้วนปากเองได้โดยการผสมเกลือ 1 ช้อนชา ในน้ำ 1 แก้ว
  • รับประทานยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อบรรเทาอาการปวด หากมีอาการปวดแผลร้อนในมากจนทนไม่ไหวสามารถรับประทานยาดังกล่าวได้
  • ยาน้ำเขากุย ยาน้ำแก้ร้อนในเขากุยเป็นยาตำรับแผนโบราณสูตรเฉพาะของอ้วยอันโอสถ ผลิตจากสมุนไพรธรรมชาติ ช่วยแก้ร้อนใน แผลร้อนใน
  • ใช้ยาป้ายแผลวันละ 3-4 ครั้งต่อวัน จนกว่าแผลจะหาย ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการให้แผลหายเร็ว หรืออาจมีอาการเจ็บปวด
  • ใช้ยาปฏิชีวนะช่วยในการรักษา หากผู้ป่วยเกิดความสงสัยว่า แผลอาจเกิดการติดเชื้อ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยา
  • ให้อาหารและน้ำทางหลอดเลือดดำ หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บแผลร้อนในมากจนไม่สามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

อาหารแก้ร้อนใน

อาหารแก้ร้อนใน
  • มะระ : ผักที่มีคุณสรรพคุณเป็นยาดับกระหาย คลายร้อน ช่วยถอนพิษไข้ บรรเทาอาการร้อนใน แก้อาการอักเสบและเจ็บคอ
  • ตำลึง : ตำลึงที่เราเห็นขึ้นริมรั้วรอบบ้านบ่อย ๆ นั้น เป็นผักที่มีคุณสมบัติช่วยดับพิษร้อนภายในร่างกาย ช่วยลดไข้และเป็นยาระบายอ่อน ๆ ได้ดี เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาท้องผูกอย่างมากทีเดียว
  • ดอกแค : ดอกแคแหล่งของวิตามินซีสูง มีฤทธิ์เย็นโดยจะช่วยรักษาอาการร้อนใน ช่วยลดน้ำมูก ลดไข้และบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ เพียงนำดอกแคมาต้มดื่ม
  • แตงกวา : ผักที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบสูง หากเรารับประทานอาหารที่มีน้ำมาก ๆ ก็ย่อมช่วยให้อุณหภูมิภายในร่างกายลดลงได้เช่นเดียวกัน
  • ปวยเล้ง : ผักเพื่อสุขภาพที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยดับกระหายและช่วยขับร้อนได้เป็นอย่างดี
  • ใบบัวบก : ผักที่มีฤทธิ์เย็น มีส่วนช่วยลดความร้อนภายในร่างกาย นอกจากทานแบบสด ๆ โดยอาจนำมาคั้นน้ำดื่มแล้ว ยังสามารถหาซื้อในรูปแบบแคปซูลมารับประทานก็ได้เช่นกัน
  • ฟักเขียว : ผักฤทธิ์เย็นอีกหนึ่งชนิด ที่มีคุณสมบัติช่วยถอนพิษ ขับร้อนภายในร่างกาย ช่วยกำจัดเสมหะ ขับปัสสาวะ บำบัดอาการบวมน้ำ แก้ไอ หอบ ช่วยลดความร้อนภายในร่างกายและทำให้แผลร้อนยุบเร็วขึ้น
  • ชะอม : ผักที่มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ทำเมนูอาหารได้อย่างหลากหลาย มีสรรพคุณช่วยลดความร้อนลงได้และช่วยขับลมภายในลำไส้ได้ด้วย
  • สะเดา : ผักสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณช่วยดับพิษร้อน ลดอาการร้อนในภายในร่างกาย โดยเฉพาะยอดอ่อนและดอกที่หลายคนนิยมนำมาลวกจิ้มน้ำพริกทานบ่อย ๆ นับเป็นยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยขับร้อนได้เป็นอย่างดีทีเดียว
  • ส้มโอ : ผลไม้ที่มีคุณสมบัติในการขับถ่าย ขับล้างสารพิษ บรรเทาอาการท้องอืด ช่วยระบายความร้อนและถอนพิษได้
  • มะเฟือง : มีสรรคุณช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ บรรเทาอาการไอ และรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แต่ไม่เหมาะในผู้ป่วยโรคไต
  • มังคุด : เป็นผลไม้ที่มีส่วนช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยแก้กระหายน้ำ ทั้งยังเพิ่มเมือกในลำไส้และกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานคล่องตัวยิ่งขึ้น
  • แตงไทย : ผลไม้รสหวานที่มีคุณสมบัติช่วยดับกระหาย ลดความร้อน ขับปัสสาวะและยังเป็นยาระบายอ่อน ๆ ได้ดีอีกด้วย
  • มะตูม : น้ำสมุนไพรอย่างมะตูมมาพร้อมคุณสมบัติช่วยแก้ร้อนใน ดีต่อระบบย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะและแก้อาการท้องเสีย
  • กระเจี๊ยบ : อีกหนึ่งสมุนไพรที่มีฤทธิ์แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยบรรเทาอาการไอและลดความดันโลหิตได้

ทิ้งท้าย

ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลคร่าว ๆ ของร้อนใน หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจวิธีแก้ร้อนใน และร้อนในเกิดจากอะไรกันมากขึ้น

Advertisement

FAQ

ร้อนใน คือ

ร้อนใน (Aphthous Ulcers) คือ แผลในช่องปากที่มีขนาดเล็ก และตื้น จะออกเป็นสีขาว อาจเกิดบริเวณส่วนใดของช่องปากก็ได้

Advertisement

Advertisement

NaniTalk S.

เป็นนักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อโลกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button